kaset www.kasetvirul.com
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot

dot


หน่วยงานราชการ
หนังสือการเกษตร


เมล็ดทานตะวัน article

ทานตะวัน


  สถานการณ์
ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกทานตะวัน ปี 2540/41ประมาณ 300,000 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2539/40 ร้อยละ 33 ซึ่งมีพื้นที่ปลูก 225,000 ไร่ ส่วนผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 38 มีผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 33,000 ตัน ในปี 2539/40 เป็น 45,900 ตัน ในปี 2540/41 แต่ความต้องการผลผลิตเมล็ดทานตะวันของโรงงานสกัดน้ำมันและอุตสาหกรรมอาหารปีละประมาณ 100,000 ตัน จะเห็นได้ว่าประเทศไทยสามารถเพิ่มพื้นที่ปลูกทานตะวันได้อีกถึง 1 ล้านไร่การปลูกทานตะวันมุ่งเน้นเป็นรายได้เพิ่มสำหรับเกษตรกร โดยปลูกเป็นพืชที่ 2 หรือพืชปลายฤดูฝน โดยพื้นที่ปลูกพืชหลังการปลูกข้าวโพดหรือพืชตระกูลถั่วในพ้นที่เป็นดินร่วน หรือดินเหนียว เพราะทานตะวันเป็นพืชที่มีรากลึกจึงช่วยให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังปลูกได้ดีในดินเกือบทุกสภาพ ยกเว้นดินที่มีสภาพเป็นกรดจัดและมีน้ำท่วมขัง มีปัญหาที่สำคัญคือ ยังเป็นพืชค่อนข้างใหม่สำหรับเกษตรกรทั่วไปและเมล็ดพันธุ์มีราคาค่อนข้างสูงต้องนำเข้าจากต่างประเทศแต่อย่างไรก็ตามการผลิตทานตะวันยังเป็รสิ่งจำเป็น เพราะทุกปีประเทศไทยต้องนำเข้าเมล็ดและผลิตภันฑ์จากทานตะวันปีละไม่ต่ำกว่า 700 ล้านบาท ถ้ามีการส่งเสริมการปลูกทานตะวันได้อย่างเพียงพอนอกจากทดแทนการนำเข้าแล้วยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้อีกด้วย
แหล่งปลูกที่สำคัญ
1 ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดลพบุรีสระบุรี
2 ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี พะเยา ตาก เชียงราย เชียงใหม่แพร่ น่าน
3 ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี จันทบุรี
4 ภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี
5 ภาคตะวันออกเฉียงเเหนือ ได้แก่จังหวัดนครราชสีมา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น

ฤดูปลูก
1. ต้นฤดูฝน ปลายมีนาคม และเมษายน เก็บเกี่ยวกรกฏาคม
2. ปลายฤดูฝน กลางสิหาคม - ต้นตุลาคมเก็บเกี่ยว ธันวาคม - กุมภาพันธ์
3. หลังนาในเขตชลประทาน ภายในเดือนธันวาคมเก็บเกี่ยว เมษายน

ปริมาณการผลิต
 
  ปีพ.ศ. พื้นที่ปลูก(ไร่) พื้นที่เก็บเกี่ยว(ไร่) ผลผลิตรวม(ตัน) ผลผลิตเฉลี่ย(กก./ไร่)
  2536 100,000 74,000 11,225 149
  2537 174,000 140,000 22,000 107
  2538 200,000 185,000 28,560 153
  2539 225,000 200,327 33,054 165
  2540 300,000 255,000 45,939 178
  พันธุ์ส่งเสริม
พันธุ์ลูกผสมแปซิฟิก 33
ลักษณะประจำพันธุ์
ความสูง 150 เซนติเมตร
อายุเก็บเกี่ยว 110 วัน
อายุการออกดอก 45 วัน
อายุดอกบาน 50% 63 วัน
ความกว้างฐานดอกเฉลี่ย 19 เซนติเมตร
เปอร์เซนต์น้ำมัน 40 เปอร์เซนต์
จำนวนเมล็ดต่อฐานดอก 1,300-15,000เมล็ด
น้ำหนัก 100 เมล็ด 7.5 กรัม
ต้นทุนการผลิต
1. ค่าแรงงานในการปลูกถึงเก็บเกี่ยว 367 บาท
ค่าแรงงานในการเตรียมดินและปลูก 250 บาท
ค่าแรงงานในการดูแลรักษา 35 บาท
ค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยว 50 บาท
ค่าสีนวดบรรจุ 32 บาท
2. ค่าวัสดุการเกษตร 284 บาท
ค่าเมล็ดพันธุ์ 144 บาท
ค่าปุ๋ยเคมี 140 บาท
ค่าสารเคมี -
3. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 40 บาท
ค่าซ่อมแซมวัสดุการเกษตร 7 บาท
ค่าขนส่ง 11 บาท
ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ 22 บาท
4. ค่าใช้ที่ดิน 133 บาท
5. ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์การเกษตร 26 บาท
6. ต้นทุนรวมต่อไร่ 850 บาท
7. ต้นทุนเฉลี่ยต่อกิโลกรัม 4 บาท
การใช้ประโยชน์
1 ภาคอุตสาหกรรม น้ำมันทานตะวันสำหรับบริโภค ทำสบู่ อุตสาหกรรมฟอกสี เคลือบผิวผลไม้ ในลักษณะขี้ผึ้งเช่น ทำเทียนไข หรือเครื่องสำอางค์ และนำไปแปรรูปเป็นผลิตภันฑ์ต่างๆ เช่น เนยเทียม น้ำมันสลัด ครีม และนมที่มีไขมัน
2 ใช้บริโภคโดยตรง เช่น ใช้เมล็ดมาคั่วอบเกลือหรือนำเมล็ดที่สมบูรณ์มากะเทาะเปลือกเอาเนื้อไปปรุงแต่งรสชาด กากนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์
3 นำไปทำ Lecithin เพื่อใช้ในทางการแพทย์ ในการลดโคเลสเตอรอลในคนไข้ ที่มีโคเลสเตอรอลในเส้นเลือด
4 คุณประโยชน์ของเมล็ดทานตะวัน
- ป้องกันและต่อต้านสารเคมีที่เป็นพิษที่จะก่อให้เกิดมะเร็งในปาก
- ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
- เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น

ภาวะการตลาด
ปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศ 100,000 ตัน
การใช้ภายในประเทศ 80,000 ตัน
นำเข้าเมล็ด 60,000 ตัน
ส่งออกเมล็ด 20,000 ตัน

เทคโนโลยีการปลูก
การเตรียมดิน ไถดะด้วยผาน 3 ให้ลึกที่สุดตากดินไว้7 วัน แล้วไถด้วยผาน 7 เพื่อย่อยดินและปรับดินให้สม่ำเสมอตลอดทั้งแปลง
การปลูก ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 40 เซนติเมตร และระหว่างแถว 70 เซนติเมตร หลุมละ 2-3 เมล็ด กลบดินให้หนา 3-5 เซนติเมตร หลังการปลูก5-10 วัน ถอนแยกให้เหลือหลุมละ 2 ต้น ใช้เมล็ดพันธุ์ 0.8-1.0 กิโลกรัมต่อไร่
การใส่ปุ๋ย ก่อนหยอดเมล็ดรองพื้นด้วยปุ๋ยสูตร15-15-15 หรือ 16-11-14 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อทานตะวันอายุ 25-30 วัน ให้ใส่ยูเรีย 46-0-0 หรือ15-0-0+B (0.2%) อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่
การกำจัดวัชพืช ใช้ยาคุมหญ้าประเภทอลาคลอร์ อัตรา 300-4,000 ซีซีต่อไร่ ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ด ห้ามใช้อทราซีนโดยเด็ดขาด
การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวเมื่อทานตะวันอายุ 110-115 วัน โดยจานดอกจะเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลตัดจานดอกตาก 2-3 แดด แล้วนวดด้วยเครื่องนวดถั่วเหลืองหรือเครื่องนวดข้าวทำความสะอาดเมล็ดเก็บในยุ้งฉาง หรือจำหน่ายได้เลย

ศัตรูพืชที่สำคัญ
1. โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคโคนเน่า
2. แมลงที่สำคัญ ได้แก่ ผีเสื้อกลางคืนทำลายเมื่อตอนดอกบานเพลี้ยจั๊กจั่น แมลงหวี่ขาว และมวนเขียวข้าว
3. นกและหนู

 


      ข้อมูลพืช      - พืชไร่ :     ทานตะวัน  |   ปอ  |   ฝ้าย  |   อ้อย  |   ถั่วลิสง  |   ถั่วเขียว  |   ถั่วเหลือง  |   ปาล์มน้ำมัน  |   ข้าวโพด  |  



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




สาระน่ารู้ทางการเกษตร

รถดำนา
วิจัยกล้วยไข่ให้ผิวสวย ใช้อุณหภูมิควบคุมการตก กระ article
วิจัยคุณภาพมันระยอง 9 สู่อุตสาหกรรมผลิตเอทา นอล article
แมงดานาไล่ศัตรูด้วยกลิ่น แต่นำมาใช้กับมนุษย์ไม่ได้ผล article
แมลงหล่า..ศัตรูข้าว เจ้าตัวร้ายสำแดงลงนาข้ามปี article
ระบบน้ำการเกษตร article
นำเข้าสารเคมีเกษตรพุ่งพรวด article
ปลูกมันเทศเพื่อขายยอด...ต่างชาตินิยมรับทาน article
แตงขึ้นร้านนิคมเศรษฐกิจฯ สร้างรายได้ในสปก.อย่างพอเพียง article
ผักพื้นบ้าน article
การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ article
ข้าวโพดข้าวเหนียว บิ๊กไวท์ 852 article
ใช้ชีววีธีควบคุมโรคในผลไม้ article
ข้าวพันธุ์ใหม่ ‘ชัยนาท 80’ สามารถปลูกได้ตลอดปี article
ผักปลอดสารพิษ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.