kaset ศูนย์รถดำนา เพาะกล้าข้าว
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot

dot


หน่วยงานราชการ
หนังสือการเกษตร


ศูนย์รถดำนาเพาะกล้าข้าว

 


        งานเปิดตัวรถดำนาโดยผู้ว่าชนินทร์ บัวประเสริฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรค์
                                                                      

 

  
นายอุดม พัวสกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ขับรถดำนาเปิดงานรณรงค์ลดต้นทุนการผลิตข้าวพันธุ์ดี

 

 
นายวัฒนชัย สุภา ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวนครสวรรค์ ร่วมรณรงค์ปลูกข้าวพันธุ์ดี

 

 
นายยลยง มีพืชน์ นายอำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี 
ขับรถดำนาเปิดงานรณรงค์การปลูกข้าวพันธุ์ดีด้วยการใช้รถปักดำ

 

 
นายสุชาติ ตั้งวรชัย นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลตลุกดู่ ร่วมสนับสนุนการปลูกข้าวพันธุ์ดี

 

 
ศูนย์เพาะกล้าข้าวรถดำนาเกษตรวิรุฬห์  ตำบลหนองกระโดน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

 

 
แปลงเพาะกล้ารถดำนาเกษตรวิรุฬห์ ตำบลทัพทัน อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี

 

 
จัดงานรณรงค์ปลูกข้าวพันธุ์ดี ที่ตำบลโคกหม้อ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี

   

    

 

แปลงเพาะกล้าข้าว

    

    

  

ชาวนาไทย พัฒนาการปลูกข้าวโดยใช้รถดำนาแบบอัตโนมัติ

 

ชาวนาในเขตชลประทานภาคกลางหันปรับเปลี่ยนวิธีการทำนา ด้วยรถดำนาอัตโนมัติเพิ่มขึ้น 
เหตุเพราะประหยัดแรงงาน สะดวกรวดเร็ว ลดปัญหาข้าวดีดข้าวปน และจำนวนปริมาณเมล็ด
พันธุ์ที่ใช้ได้จริง

                  การที่เกษตรกรในเขตชลประทานในภาคกลาง มีการพัฒนาปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการ
ทำนาอย่างต่อเนื่อง จากการดำนาโดยแรงงานคนที่มีประสิทธิภาพต่ำเพียง 0.25 ไร่/วัน/คน มาเป็นการ
ทำนาหว่านน้ำตมที่ช่วยประหยัดแรงงานมากขึ้น แต่ก็ยังพบปัญหามาก เช่น ใช้เมล็ดพันธุ์สูง ข้าวมีการ
ปลอมปนสูง มีข้าวดีดข้าวเด้ง จนในปัจจุบันได้พัฒนาการดำนาโดยรถดำนาอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ
สูง 15-20 ไร่/วัน ซึ่งช่วยลดปัญหาการใช้แรงงาน ปัญหาข้าวดีดข้าวปนได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ชาวนาภาค
กลางหลาย ๆ จังหวัด หันมาใช้รถดำนาอัตโนมัติกันมากขึ้น โดยพบเห็นมากในจังหวัด สุพรรณบุรี 
สิงห์บุรี ชัยนาท ปทุมธานี อยุธยา และอ่างทอง เป็นต้น

                หากเมื่อเปรียบเทียบการทำนาด้วยรถดำนาอัตโนมัติกับการทำนาโดยวิธีนาหว่านน้ำตม
พบว่า มีข้อดีหลายประการคือ สามารถลดปัญหาข้าวดีดข้าวปนได้อย่างชัดเจน  มีการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อ
ไร่เพียง  10.41 กก./ไร่  ในขณะที่นาหว่านน้ำตมใช้เมล็ดพันธุ์ 25-30 กก./ไร่  อีกทั้งยังลดการใช้ปุ๋ย
เคมีลงได้ร้อยละ 50 เนื่องจากมีปริมาณต้นข้าวน้อยกว่านาหว่านน้ำตมเกือบ 3 เท่า และไม่มีวัชพืชคอย
แย่งปุ๋ยเคมี  นอกจากนี้ ยังลดการใช้ยากำจัดวัชพืช/ฆ่าแมลงลงได้ร้อยละ 20 เนื่องจากนาดำมีระยะห่าง
ระหว่างต้นโรคแมลงไม่ค่อยรบกวนการดูแลถอนหญ้าทำได้ง่าย ขณะที่ต้นข้าวนาดำมีความแข็งแรง 
และให้ผลผลิตต่อไร่สูง ต้นข้าวไม่ล้ม ทำให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว

                รถดำนาอัตโนมัติจะมีค่าใช้จ่ายในการจ้างดำต่อไร่ 1,300 บาท/ไร่ แต่ผลได้รับจะคุ้มค่า
กว่านาหว่าน ในปัจจุบันมี  การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ในรูปสินเชื่อของกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์
ธกส.หรือนิคมเกษตรกร ซึ่งจะสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าว มาใช้พร้อมกันก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายลง
ได้ในที่สุ
 

 

 

 

 

 

 

                                        สรุปข้อดีของรถดำนา

             1.สะดวกรวดเร็วหนึ่งวันดำได้ 15-20 ไร่ เท่ากับแรงงานคน 80 คน 
                                  2.ไม่สูบน้ำทิ้งเหมือนนาหว่านทำให้ประหยัด น้ำและน้ำมัน ทำให้นวลดินที่อุดมไปด้วยธาตุอาหารยังคงอยู่
                                  3. ประหยัดในการฉีดยาฆ่าหอยและยาคุมหญ้า 
                                   4.เก็บเกี่ยวได้ไวเพาะกล้า ณ.วันที่ดำมีอายุ 20 วันแล้ว 
                                   5.ต้นกล้าที่ได้แข็งแรงและปลอดโรค ด้วยขั้นตอนการเพาะที่พิถีพิถัน ทุกขั้นตอน 

 

 

 

ตารางเปรียบเทียบ  ค่าใช้จ่าย - รายได้ - กำไรการทำนาเขตภาคกลาง  และภาคเหนือตอนล่าง
นาหว่านน้ำตม        
          ค่าใช้จ่าย-รายได้-กำไร รายละเอียด  บาท/ไร่ 
             ค่าใช้จ่าย - การเตรียมดิน     350
   ค่าใช้จ่ายการปลูก     810
  พันธุ์ข้าว 3 ถัง x 250 บาท/ถัง    750
  ค่าหว่าน - แต่งร่องน้ำ      60
      ค่าใช้จ่าย - การดูแล      3,705
  ยากำจัดหอย  ปู      85
  ยาคุมวัชพืช+ค่าฉีด     180
  ปุ๋ย 16-20-0 30 กก. (หว่าน 2 ครั้ง) 1,450 บ./กระสอบ 1,740
  ปุ๋ย 46-0-0 15 กก. (หว่าน 1 ครั้ง) 1,350 บ./กระสอบ 405
  ค่าหว่านปุ๋ย 3 ครั้ง ที่ 45 กก. 30 บ./กระสอบ 90
  ยาปราบวัชพืช       80
  ค่าฉีดยาปราบศัตรูพืช      35
  ยาฆ่าแมลง+เชื้อรา+ฮอร์โมน ฉีด 4 ครั้ง 200 บ./ครั้ง   800
  ค่าฉีด 4 ครั้ง 35 บ./ครั้ง     140
  ค่าน้ำมันสูบน้ำ 120 วัน        150
  ค่าตัดข้าววัชพืช (ถ้ามี) 200 - 300 บ./ไร่    - 
  ค่าหว่านยาหนอน (ถ้ามี) ฟูราดาน  4 กก./ไร่ 120 บ.    - 
           ค่าใช้จ่าย - การเก็บเกี่ยว         650
  ค่าจ้างรถเกี่ยวนวด 350 - 450 บ./ไร่ ข้าวล้มคิด 450 บ.   450
  ค่าขนข้าว + คนงาน (บรรทุก) 200 บ./ไร่     200
ค่าใช้จ่ายรวม      5,515
รายได้          10,400
  ผลผลิตเฉลี่ย(กก./ไร่) 550 - 800 กก./ไร่ คิดที่ 800 กก.    800
  ราคาขาย(บ./กก.)     13
กำไรสุทธิต่อไร่        4,885
         
         
นาดำด้วยรถดำนาคูโบต้า      
          ค่าใช้จ่าย-รายได้-กำไร รายละเอียด  บาท/ไร่ 
             ค่าใช้จ่าย - การเตรียมดิน        350
   ค่าใช้จ่ายการปลูก       1,300
  ค่ารถดำนาพร้อมกล้า ระยะ 18 ซม.     1,300
                     ค่าใช้จ่าย - การดูแล      1,645
  ยากำจัดหอย  ปู        100
  ยาคุมวัชพืช+ค่าฉีด      
  ปุ๋ย 16-20-0 30 กก. (หว่าน 2 ครั้ง) 1,450 บ./กระสอบ     725
  ปุ๋ย 46-0-0 15 กก. (หว่าน 1 ครั้ง) 1,350 บ./กระสอบ     405
  ค่าหว่านปุ๋ย 3 ครั้ง ที่ 45 กก. 30 บ./กระสอบ   30
  ยาปราบวัชพืช      - 
  ค่าฉีดยาปราบศัตรูพืช      - 
  ยาฆ่าแมลง+เชื้อรา+ฮอร์โมน ฉีด 1 ครั้ง       200
  ค่าฉีด 1 ครั้ง 35 บ./ครั้ง   35
  ค่าน้ำมันสูบน้ำ 120 วัน          150
  ค่าตัดข้าววัชพืช (ถ้ามี)      - 
  ค่าหว่านยาหนอน (ถ้ามี) ฟูราดาน  4 กก./ไร่ 120 บ.    - 
            ค่าใช้จ่าย - การเก็บเกี่ยว       550
  ค่าจ้างรถเกี่ยวนวด 350  บ./ไร่ ข้าวไม่ค่อยล้ม     350
  ค่าขนข้าว + คนงาน (บรรทุก) 200 บ./ไร่     200
                     ค่าใช้จ่ายรวม        3,845
รายได้           13,000
  ผลผลิตเฉลี่ย(กก./ไร่) 800 - 1,000 กก./ไร่ คิดที่ 1,000 กก.   1,000
  ราคาขาย(บ./กก.)     13
กำไรสุทธิต่อไร่         9,155
         

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด







Copyright © 2010 All Rights Reserved.