เครื่องดูดแมลงกับดักแสงไฟ
เครื่องดูดแมลงกับดักแสงไฟ ได้คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้กำจัดแมลงทั่วไปที่มักชอบมาเล่นแสงไฟในช่วงกลางคืนโดยส่วนมากแล้วจะเป็นแมลงศัตรูพืชที่สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรและรบกวนสร้างความรำคาญในบ้านพักอาศัย เครื่องดูดแมลงกับดักแสงไฟใช้งานง่ายมากๆ ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนการใช้ยาฆ่าแมลงที่มีสารเคมีตกค้างมากมายนอกจากใช้ในนาไร่แล้วยังสามารถปรับใช้ตามบ้านเรือนอาคารที่มีแมลงรบกวนได้อีกด้วย แมลงศัตรูพืชที่ชอบมาเล่นแสงไฟ ได้แก่ หนอนเจาะสมอ ฝ้าย (Heliothis armigera) หนอนกระทู้ (Spodopterasp) เพลี้ยกระโดดสี น้ำตาล (Nilaparvata lugens) หนอนกระทู้ดำ (Agrotisp) เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (Nephotettix nigropictrs) เพลี้ยหล่า (Scotinopharasp) บั่ว (Orseolia oryzae)เครื่องดูดแมลงกับดักแสงไฟใช้ล่อแมลงโดยจะมีหลอดฟูออเรนเซนต์ข้างบนที่อยู่สูงประมาณ 3 เมตรจากพื้นจะทำหน้าที่ล่อแมลงในระยะไกลให้เข้ามาเล่นแสงไฟรัศมีล่อแมลงกว่า 800-1,000 เมตร หรือในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ เมื่อแมลงเข้ามาไกล้จะมีหลอดดวงเทียนล่อแมลงให้มารวมบริเวณปากกรวยในรัศมีลมดูดทำให้แมลงถูกดูดไปเก็บในถุงด้านล่างนอกจากจะกำจัดแมลงศัตรูพืชแล้วเรายังนำแมลงไปทำเป็นปุ๋ยหรืออาหารสัตว์ได้อีกด้วย
ตัวเครื่อง ประกอบด้วย แผ่นเมทอลชีสทรงกรวยขนาด 30 นิ้ว สูง 24 นิ้ว อยู่บนแท่นสูง 30 นิ้ว แกนกลางมีพัดลมดูดขนาด 5 ใบพัดซึ่งมีกำลังดูดแมลงที่บินเข้ามาในรัศมีทรงกรวยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กับดักแสงไฟ จะมีชุดหลอดไฟบลูไลท์ ซึ่งอยู่ด้านบนสุดจะล่อแมลงในรัศมีระยะไกลให้เข้ามายังเครื่องดูดแมลงหลอดไฟส่องสว่างด้านล่าง จะล่อแมลงที่บินเข้ามาให้มารวมกันอยู่บริเวณปากกรวย แรงลมดูดก็จะดูดแมลงลงเข้าไปในถุงเก็บด้านล่าง เสาที่ติดตั้งชุดไฟปรับขึ้นลงไดตามความต้องการ สวิทซ์ไฟเปิดปิดแต่ละหลอดแยกกันอิสระ
ชุดกำเนิดพลังพลังงาน ใช้แบตเตอรรี่ขนาด 12 โวลท์ผ่านชุดแปลงไฟ จาก 12 โวลท์เป็น 220 โวลท์ ซึ่งสามารถเปิดได้นาน 7 – 10 ชั่วโมง จากการใช้งานที่ผ่านมา ใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมงเท่านั้นก็สามารถดูดเพลี้ยกระโดดฯลงได้ถึง 20 กก/ เครื่อง ซึ่งใน 1 กก.สามารถกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ 170,000 ตัว
สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ใช้เครื่องรณรงค์กำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ไดสำรวจพบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในหลายพื้นที่ ได้แก่อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง อ.เมือง อ.อู่ทอง อ.ดอนเจดีย์ และ อ.ศรีประจันต์ เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรีจึงได้กำหนดมาตรการในการควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและหนึ่งในมาตรการเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การใช้กับดักแสงไฟล่อตัวแก่มาทำลาย โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี ได้เปิดยุทธการกำจัดตัวแก่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างทันทีทันใด ในเย็นวันที่ ๔เมษายน ๒๕๕๕ โดยได้แจกจ่ายกับดักแสงไฟชนิดมีเครื่องดูด หรือที่เรียกว่า เครื่องดูดเพลี้ย กระจายลงพื้นที่อำเภอบางปลาม้าพร้อมทั้งให้เปิดไฟล่อตัวแก่เพลี้ยมาทำลายพร้อมกันในคืนวันเดียวกันนั้นเป็นต้นไป จากนั้นเกษตรจังหวัด นายไพรัช หวังดี พร้อมด้วยนายสินสมุทร ปานเกตุ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นายสมเกียรติ กล่ำคุ้ม นายนฤมิตร สมัคร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ นายศักดิ์ชัย เกษประทุม เกษตรอำเภอบางปลาม้า นายสุวิทย์ สันติเสรีวงศ์ และนายกิตติศักดิ์แก้วไร่ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล ได้ลงตรวจเยี่ยมการติดตั้งเครื่องดูดเพลี้ยและตรวจสอบปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจากการตรวจพื้นที่ในหลายจุด ในตำบลไผ่กองดิน ตำบลสาลี ตำบลกฤษณา พบว่า ในพื้นที่มีลมพัดแรงทำให้เพล้ยีกระโดดสีน้ำตาลบินมาตอมไฟน้อย แต่ในจุดที่ลมพัดไม่แรงก็พบเพลี้ยในปริมาณมาก เครื่องดูดเพลี้ยทำงานได้ผลเป้นที่พอใจของเกษตรกร และในบางจุดพบมวนเขียวดูดไข่ซึ่งเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในปริมาณที่มากกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจึงได้สั่งให้ปิดเครื่องดูดเพื่อจะได้ไม่เป็นการทำลายมวนเขียวดูดไข่ และสอบถามเกษตรกรแปลงข้างเคียงพบว่าปริมาณเพลี้ยพบไม่มากนักสามารถควบคุมได้เพราะว่ามีแมลงศัตรูธรรมชาติคอยช่วยควบคุมเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า หากสถานการณ์ที่พบมวนเขียวดูดไข่มากกว่าเพลี้ยแสดงว่าแมลงศัตรูธรรมชาติสามารถควบคุมการระบาดของเพลี้ยได้ เนื่องจากเกษตรกรมั่นตรวจสอบแปลงนาเมื่อพบเพลี้ยในปริมาณไม่มากนักก็ใช้สมุนไพรร่วมกับสารเคมีที่ไม่มีฤทธิ์รุนแรงมากแต่ใช้กับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ผล จึงทำให้เพลี้ยไม่สามารถสร้างความเสียหายที่รุนแรงได้สำหรับแปลงนาที่พบการระบาดรุนแรงเนื่องจากเกษตรกรขาดการตรวจสอบแปลงนาอย่างใกล้ชิด ทำให้พบว่าเกิดการระบาดอย่างรุนแรงแล้ว จึงต้องใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรงแต่เนื่องจากข้าวต้นสูงแล้วการฉีดพ่นไม่โดนตัวเพลี้ยทั้งหมดทำให้ได้ผลเพียงบางส่วนจึงอยากแนะนำให้เกษตรกรใช้หลายๆ วิธีในการควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจึงจะได้ผลสำหรับการใช้กับดักแสงไฟหรือเครื่องดูดเพลี้ยก็ถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยกำจัดตัวแก่ทจี่ ะแพร่ขยายพันธุ์ต่อไปเป็นการควบคุมการระบาดอีกวิธีหนึ่งที่ได้ผล ซึ่งจะหาทางสนับสนุนเครื่องดูดเพลี้ยให้กระจายทั่วถึงมากกว่านี้ต่อไป สำหรับสารเคมีที่แนะนำในขณะนี้ขอแนะนำให้ใช้สารเคมีที่กรมการข้าวแนะนำและอย่าใช้สารเคมีชนิดเดียวติดต่อกันกเ ินสองครั้ง และที่ใช้ได้ผลดีในตอนนี้พบว่าสารเคมีชื่อสามัญว่า ไพมีโทรซีน (Pymetrozine) ใช้ได้ผลดีพอสมควร เกษตรจังหวัดกล่าวหลังจากตรวจเยี่ยมการใช้กับดักแสงไฟในหลายจุดเมื่อคืนวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา. (นฤมิตร สมัคร : ข่าวและภาพ
จังหวัดอ่างทองได้รับการจัดสรรเครื่องดูดแมลงกับดักแสงไฟ


กรมการข้าวมอบเครื่องดูดแมลงกับดักแสงไฟให้เกษตรกรจังหวัดอ่างทอง
เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 19.00น. ณ ลานตากข้าว วัดยางซ้าย ต.ยางซ้าย อ.โพธิ์ทอง นายวิศวะ ศะศิสมิต ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ได้เป็นประธานในการมอบเครื่องดูดแมลงกับดักแสงไฟ ให้กับเกษตรกร จากกรมการข้าวและสำนักงานเกษตรจังหวัดอ่างทอง สำหรับจังหวัดอ่างทองได้รับผลกระทบจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นพื้นที่กว่าแสนไร่ จากทั้งหมด 4 อำเภอ คือ อำเภอวิเศษชัยชาญ อ.โพธิ์ทอง อ.แสวงหา อ.สามโก้ ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง ได้ประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สำหรับเครื่องดูดแมลงกับดักแสงไฟได้รับการสนับสนุน จากกรมการข้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 54 ซึ่งจังหวัดอ่างทองได้รับการจัดสรรเครื่องดูดแมลงกับดักแสงไฟจำนวน 100 ชุด เพื่อกระจายไปยังทั้ง 4 อำเภอที่ได้รับความเสียหายจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
กรมการข้าวเปิดหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว ตรวจสอบและแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


สถานการณ์เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ศัตรูร้ายของชาวนากำลังกลับมาระบาดและสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวอีกครั้ง ทั้ง ๆ ที่น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ผ่านมาน่าจะตัดวงจรชีวิตเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี ซึ่ง กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกมาชี้แจงถึงปัจจัยที่ส่งผลให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกลับมาระบาดอีกระลอกในขณะนี้นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจของศูนย์ปฏิบัติการในพื้นที่ของกรมการข้าว และข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าขณะนี้มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในระยะเริ่มต้น ใน 11 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี ราชบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และปทุมธานี รวมพื้นที่กว่า 68,000 ไร่ อย่างไรก็ตาม กรมการข้าวตระหนักดีว่าปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะย้อนกลับมาสร้างความเสียหายต่อผลผลิตข้าวของชาวนาอย่างแน่นอน เนื่องจากหลังสถานการณ์อุทกภัยผ่านพ้นไปชาวนาจะเร่งเพาะปลูกข้าว โดยใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นข้าวอายุเก็บเกี่ยวสั้นเพื่อเร่งสร้างรายได้หลังจากน้ำลด ซึ่งการใช้พันธุ์ข้าวที่ไม่ได้รับการรับรองพันธุ์หรือพันธุ์ข้าวที่กรมฯ แนะนำว่ามีความต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ส่งผลให้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลกลับมาเริ่มระบาดทำลายผลผลิตข้าวอีกครั้งเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว กรมการข้าว เปิดตัว “รถโมบายยูนิต” เป็นหน่วยปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว ที่มีเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถเข้าไปตรวจสอบและแก้ปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตลอดจนศัตรูข้าวต่าง ๆ ได้ถึงพื้นที่แปลงนาได้ทันที โดยขณะนี้ได้ส่งรถโมบายจำนวน 4 คัน กระจายไปให้บริการชาวนาในพื้นที่เป้าหมาย 11 จังหวัดที่มีการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแล้ว ซึ่งรถโมบายนี้สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคและแมลงศัตรูข้าว วิเคราะห์ดินและน้ำ ตรวจอุณหภูมิและความชื้น นอกจากนี้มีเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยคอยให้คำแนะนำทางวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับศัตรูข้าวชนิดต่าง ๆ ที่สำคัญรถโมบายมีอุปกรณ์สามารถส่งข้อมูล เช่น พบการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่ใดก็ส่งข้อมูลมายังกรมฯ ได้ทันที ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าจะสามารถเข้าไปควบคุมการระบาดได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่ผ่านมานอกจากจัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วออกไปให้บริการชาวนาแล้ว กรมการข้าวยังได้ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร จัดเครื่องดูดแมลงจำนวน 2,000 เครื่อง แจกจ่ายในพื้นที่ 20 จังหวัดที่พบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในปีที่ผ่านมา เพื่อรณรงค์ให้ชาวนาใช้เครื่องดูดแมลงกำจัดตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไม่ให้แพร่กระจายขยายพื้นที่ไปอีก “
“กรมการข้าวได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเร่งควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตลอดจนศัตรูข้าวทุกชนิด เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตข้าวของชาวนาให้ได้มากที่สุด เพราะไม่ว่าจะเกิดภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ภัยแล้งหรือศัตรูข้าวระบาด ล้วนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและอาชีพของชาวนาทั้งสิ้น จึงต้องเร่งแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด แต่อย่างไรก็ดี ขอฝากให้ชาวนาที่เก็บเกี่ยวข้าวในฤดูกาลนี้เสร็จ ให้พักดินเพื่อตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ไม่เช่นนั้นในฤดูนาปีหรือฤดูต่อไปก็จะเกิดปัญหาอีกไม่สิ้นสุด” อธิบดีกรมการข้าว กล่าว
...แม้จะมีหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่คอยดูแลแก้ปัญหาให้ชาวนาอย่างเต็มที่ก็ตาม แต่ชาวนาเองก็ควรจะต้องหมั่นตรวจสอบแปลง และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะถ้าพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลหรือศัตรูข้าวในปริมาณมากผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่หรือหน่วยเคลื่อนที่เร็วของกรมการข้าวทันที ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2561-3962.
จังหวัดฉะเชิงเทราเปิดงานรณรงค์การกำจัดและควบคุมพื้นที่การระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล


เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๕ นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นประธานเปิดงานรณรงค์การกำจัดและควบคุมพื้นที่การระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งนายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ เกษตรจังหวัดฉะเชิงเทราและเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และเกษตรกรในพื้นที่นำเครื่องดูดเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาลไปติดตั้งกลางทุ่งนา ณ วัดสุธาวาส หมูที่่ ๑๓ ตำบลคลองหลวงแพ่ง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
๒๖/๓/๒๕๕๕
งานรณรงค์การจัดและควบคุมพื้นที่การระบาด เพลี้ยกระโดดสีน้าตาล ปี ๒๕๕๕

.jpg)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๕ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล ที่ปรึกษารัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานรณรงค์กาจัดและควบคุมพื้นที่การระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้าตาล ปี ๒๕๕๕ นางสาวสุพัตรา ธนเสนีวัฒน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้กล่าวรายงาน ณ วัดตลาดใหม่ ตาบลตลาดใหม่ อาเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งในงานนี้ นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และนายชัยฤทธิ์ ดารงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว ร่วมเป็นเกียรติ
ในงาน โดยมีนายสมพิศ พูลสวัสดิ์ เกษตรจังหวัดอ่างทอง ให้การต้อนรับ กิจกรรมในงานประกอบด้วย สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีการป้องกันและกาจัดเพลี้ยกระโดสีน้าตาล ๗ สถานี คือ สถานีเพลี้ยกระโดดสีน้าตาลและการป้องกันกาจัดแบบองค์รวม สถานีแนะนาข้าวพันธุ์ต้านทาน สถานีศัตรูธรรมชาติและการใช้สารชีวภัณฑ์รวมทั้งบิวเวอเรียป้องกันการระบาด สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีการทาง
วิศวกรรมระบบนิเวศ หรือ ecological engineering สถานีเรียนรู้การใช้เครื่องดูดแมลงเพื่อกาจัดตัวเต็มวัยก่อนการวางไข่ สถานีบริการหน่วยเคลื่อนที่เร็วกรมการข้าว และสถานีเรียนรู้การใช้สารเคมีเพื่อควบคุมกาจัดเพลี้ยกระโดดสีน้าตาลอย่างถูกต้อง กิจกรรมเวทีเสวนาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม ซึ่งคณะผู้จัดงานครั้งนี้ คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานรณรงค์กาจัดและควบคุมพื้นที่การระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้าตาลนี้ จะมีส่วนช่วยให้การควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้าตาลเป็นไปอย่างสัมฤทธิ์ผล ไม่เกิดการขยายวงกว้าง เป็นการป้องกันความเสียหายทางการผลิตข้าวให้กับเกษตรกรโดยรวม
 |
นายภานุวัฒน์ เจนประเสริฐ
นายอำเภอหนองแค เป็นประธานส่งมอบ
เครืองดูดแมลงศัตรูพืชให้กับตัวแทนกลุ่มเกษตรกรทีรับมอบเครืองดูดแมลงไปเก็บและบ่ารุงรักษา เมือวันที 15 มิถุนายน 2555
|
.jpg) |
เมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา นายพนม ธรรมเพ็ชร์ เกษตรอำเภอ วิหารแดง พร้อมด้วยนายวิสูตร สว่างอุระ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ได้จัดอบรมและแนะนำการใช้เครื่องดูดแมลงกับดักแสงไฟ ภายใต้โครงการควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปี 2554 ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ให้กับเกษตรกรตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ณ ที่ทำการประชาคมหมู่บ้าน หมู่ที่ 3 ตำบลหนองหมู อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี
|
 |
สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านหมอ จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้เครื่องดูดแมลง (เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล) ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ตำบลโคกใหญ่ |
ปลัดจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานงานรณรงค์การกำจัดและควบคุมพื้นที่การระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2555 เวลา 19.00 น. นายศิวาโรจน์ มุ่งหมายผล ปลัดจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานงานรณรงค์การกำจัดและควบคุมพื้นที่การระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยมี นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ เกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวรายงาน ภายในงานมีสถานีให้บริการดังนี้ 1) การบำรุงดิน 2) เรื่องพันธุ์ข้าว โดยศูนย์วิจัยข้าวฉะเชิงเทรา 3) เครื่องดูดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยกรมการข้าว 4) เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและการป้องกันกำจัด โดยศูนย์บริหารศัตรูพืชชลบุรี 5) การสาธิตการเพาะถั่วงอกมือถือโดยใช้ถั่วเขียว โดยเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา
มอบเครื่องดูดแมลง ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

คณะอนุกรรมการวิสาหกิจชุมชน โดยผู้แทนผู้จัดการธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาแก่งคอย มอบเครื่องดูดแมลง ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ในวันที่ 6 มิถุนายน 2555

นายกิตติคุณ ชูเสน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ได้มอบเครื่องดูดแมลงให้กับผู้นำ เพื่อใช้ประโยชน์ในการกำจัด
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในตำบลเตาปูน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555
อำเภอพนมสารคาม มอบเครื่องดุดแมลง

อำเภอพนมสารคาม มอบเครื่องดุดแมลงให้แก่เกษตรกรผู้ประสบภัยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาด ปี 2555

เกษตรอยุธยา ทำเครื่องดูดเพลี้ยตัดวงจรขยายพันธุ์ หลังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังระบาดหนัก

เกษตรอยุธยา ทำเครื่องดูดเพลี้ยตัดวงจรขยายพันธุ์ หลังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังระบาดหนัก พบได้ผลดี ตัดวงจรขยายพันธุ์ลดประชากรเพลี้ย ไม่ต้องใช้สารเคมีให้ทำลายสิ่งแวดล้อม…
เมื่อวันที่ 29 มี.ค. นายสุรศักดิ์ สุทธิเวทย์ เกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นศัตรูในแปลงนาข้าวของชาวนาหลังน้ำลดเป็นอย่างมาก กำลังสร้างความเสียหายขยายเป็นวงกว้าง ยากแก่การกำจัด หรือฆ่าทำลาย นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเข้าเร่งดำเนินการกำจัด ตัดวงจรขยายพันธุ์ก่อนที่จะระบาดสร้างความเสียหายไปมากกว่านี้ จึงได้นำความคิดเครื่องต้นแบบมาจากเกษตรกรชาวสุพรรณบุรี ทำขึ้นเป็นเครื่องเล็กๆ หาวัสดุง่ายๆ ในหมู่บ้านมาทำ แล้วนำมาพัฒนาเพิ่มขนาดติดพัดลมไว้ด้านล่าง ดูดเพลี้ยลงไปอยู่ก้นถุง ทดลองทำแล้วได้ผลจนมีห้างร้านทำขายในราคาเครื่องละ 4,000 บาท ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดได้อนุมัติสั่งซื้อเข้ามาติดตั้งเป็นชุดแรก รวมทั้งหมดจำนวน 110 เครื่อง กระจายติดตั้งอยู่ทั้ง 16 อำเภอ ทดลองใช้แล้วได้ผลเป็นอย่างดีทั้งนี้ เครื่องดูดเพลี้ยใช้หลักการง่ายๆ จากพฤติกรรมของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชอบบินจากแปลงนาข้าวออกมาเล่นแสงไฟตามไฟ ทางส่องถนน แสงไฟตามบ้านเรือน ในเวลากลางคืนเป็นจำนวนมาก มาทำเป็นเครื่องดูดเพลี้ย โดยติดตั้งหลอดไฟฟ้าไว้บนภาชนะทรงกรวย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 80 เซนติเมตร ก้นกรวยจะติดตั้งพัดลมไว้ดูดเพลี้ยที่บินมาเล่นไฟถูกแรงลมดูดลงเก็บไว้ในถุง เท่านี้ก็สามารถกำลัดเพลี้ยได้คืนละหลายกิโลกรัมนับแสนนับล้านตัวภายในไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งเครื่องดูดเพลี้ยเกษตรกรที่มีความรู้ด้านช่าง ก็สามารถเก็บหาวัสดุภายในบ้านนำมาดัดแปลงทำขึ้นไว้ใช้เองได้ในราคาไม่แพงมากนัก นายสุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า เครื่องดูดเพลี้ย หรือเครื่องมือกำจัดเพลี้ยศัตรูนาข้าวตัวใหม่นี้มีข้อดีหลายอย่าง ไม่ต้องเปลืองแรงงานในการกำจัด เพียงเสียบปลั๊กไฟก็ทำงานทันที ไม่ต้องใช้สารเคมีฆ่าทำลาย สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญเครื่องดูดเพลี้ยยังสามารถตัดวงจรเพลี้ยกระโดดได้อย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ ยังทำลายผีเสื้อกลางคืนที่ม้วนใบข้าวทำรังทำให้มีการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดด้วย สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในขณะนี้พบอยู่ทั่วไป ทุกอำเภอที่ทำข้าวนาปรัง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยฯ มีอยู่ 3 อำเภอที่กำลังระบาดหนักสุด ได้แก่ ลาดบัวหลวง เสนา และนครหลวง ซึ่งทางจังหวัดกำลังเตรียมจะประกาศเป็นเขตภัยพิบัติเพลี้ยกระโดดทำลายกัดกินต้นข้าว ยังอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลก่อนจะประกาศอย่างเป็นทางการ.
ไทยรัฐออนไลน์
- โดย ทีมข่าวภูมิภาค
- 29 มีนาคม 2555, 14:35 น.
เครื่องดูดแมลงที่ร้าน เซเว่น นำไปใช้

มอบเครื่องดูดแมลง ให้ศูนย์ข้าวชุมชน


นายดุลยเดช วัชรสินธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นประธานมอบเครื่องดูดแมลง ให้ศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อใช้ในพื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปี 2555 ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี เมื่อวันที่10 พฤษภาคม 2555
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดตัวหมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวต้นแบบ


นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลยชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดพิธีเปิดตัวหมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวต้นแบบ จังหวัดชัยนาท ณ หมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ต.นางลือ ต.ท่าชัย อ.เมือง จ.ชัยนาท เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 เพื่อเป็นโครงการต้นแบบการเพิ่มขีดความสามารถชุมชนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่จะสามารถช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีไปสู่ชาวนาในจังหวัดชัยนาทและจังหวัดใกล้เคียงที่ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวได้
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ชัยนาท นำโดย นางสาวอุบลศรี หอพัตราภรณ์ หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ชัยนาทได้รับเชิญเข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย โดยเป็นหน่วยงานที่เข้าไปคอยแนะนำการจัดทำบัญชีให้แก่กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวนางลือ-ท่าชัย ให้มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และสามารถนำข้อมูลจากการทำบัญชีไปใช้ในการวางแผนเรื่องการใช้จ่ายได้
ทั้งนี้ นายชัยฤทธิ์ ดำรงเกียรติ อธิบดีกรมการข้าว ที่เข้าร่วมงานได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดหมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวครั้งนี้ เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรณรงค์ให้เกษตรกรทราบถึงวิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของชาวนา สำหรับการคัดเลือกชุมชนตำบลนางลือ และตำบลท่าชัย ให้เป็นหมู่บ้านผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวต้นแบบ เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีการพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี
รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานรณรงค์กำจัดและควบคุมพื้นที่การระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปี 2555


เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2555 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ลงพื้นที่รณรงค์กำจัดและควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปี 2555 มีนายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองปลัดกรทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการจัดงานรณรงค์การกำจัดและควบคุมพื้นที่การระบาดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปี 2555 โดยมีนายชาญพิทยา ฉิมพาลี รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวรายงานและวัตถุประสงค์การจัดงานคร้งนี้ กิจกรรมในงานนี้ประกอบด้วย สถานีเรียนรู้เทคโนโลยีการป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสัน้ำตาล 7 สถานี และกิจกรรมเวทีเสวนาแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนมีส่วนร่วม ซุึ่งงานครั้งนี้ ได้มีนางกิดากร ภูมิศักดิ์ ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวราชบุรี ร่วมงานดังกล่าวด้วย ที่วัดบึงบอน อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พุธที่ 1 สิงหาคม 2555 06:00:00 น.
นครสวรรค์มอบเครื่องดูดเพลี้ย ควบคุมการแพร่ระบาดในนาข้าว
นายจำเนียร เร่งเทียน เกษตรจังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จึงได้จัดมอบเครื่องดูดแมลงให้ทุกอำเภอ 120 เครื่อง เพื่อใช้ในการดูดตัวแก่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยเครื่องดูดชนิดนี้เป็นอุปกรณ์ที่สร้างด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานกับวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย โครงสร้างมีลักษณะกรวยทรงหงาย ทำจากวัสดุเมทัลชีส ด้านบนติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซนต์ เพื่อล่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาเล่นแสงไฟ ภายในก้นกรวยมีพัดลมทำหน้าที่เป็นตัวดูดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้ตกลงไปในถุง ใช้กระแสไฟฟ้า 220 โวลท์ หรือจากแบตเตอรี่ 12 โวลท์ ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายไปในพื้นที่ได้สะดวก จากการทดลองปรากฏว่า สามารถกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้คืนละ 15 - 20 กก.
นายเจริญ ผัดยา หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาได้ร่วมกับ นายปรีชา บำรุงศรี นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ทดลองนำไปใช้จริงในพื้นที่ที่มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรงแล้ว สามารถลดการระบาดได้จริง ไม่ทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติที่ทำหน้าที่ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง
การสนับสนุนเครื่องดูดแมลง (กับดักแสงไฟ) ภายใต้แนวทางการควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปี 2555 .
ต.หนองปรือ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี


การรายงานกระจายและส่งมอบเครื่องดูดแมลง และแผนสาธิตการใช้เครื่องดูดแมลง
ภายใต้แนวทางการควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ปี ๒๕๕๔
ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ (แบบรายงานที่ ๑, ๒)

ศูนย์ข่าวเกษตรจังหวัดนครสวรรค์อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
โทร.056-222-789 โทรสาร.056-227-002
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
๑ มิถุนายน 2555
อุทัยธานีมอบเครื่องดูดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทุกอำเภอ
นายเกียรติกมล ภุมรา เกษตรจังหวัดอุทัยธานี เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืช จึงได้จัดมอบเครื่องดูดแมลงให้ทุกอำเภอ ๗๕ เครื่อง เพื่อใช้ในการดูดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ดังนั้น ในกรณีที่เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ก็จะสามารถบรรเทาปัญหาได้มากเลยทีเดียว เครื่องดูดแมลงชนิดนี้เป็นอุปกรณ์ที่สร้างด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานกับวัสดุอุปกรณ์ที่สมัยใหม่ โครงสร้างมีลักษณะกรวยทรงหงาย ทำจากวัสดุเมทัลชีส ด้านบนติดตั้งหลอดฟลูออเรสเซต์ เพื่อล่อแมลงและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาเล่นแสงไฟ ภายในก้นกรวยมีพัดลมทำหน้าที่เป็นตัวดูดแมลงและเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้ตกลงไปในถุง เครื่องดูดแมลงสามารถใช้ได้กับไฟ ๒๒๐ โวลท์ และไฟจากแบตเตอรี่ ๑๒ โวลท์ ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก จากการทดลองนำไปใช้ผลปรากฏว่า สามารถกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้คืนละ ๑๕-๒๐ กก.หรือราว ๒,๕๕๐,๐๐๐ ตัวหรือ ๑ กก.มีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลราว ๑๗๐,๐๐๐ ตัว)
นายสุพจน์ ดำรักษ์ หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการทดลองใช้ทำให้ทราบว่า เป็นการป้องกันกำจัดที่ได้ผลดีมาก สามารถลดการระบาดในพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างรุนแรงได้ดี ต้นทุนต่ำเพียง ๕,๕๐๐ บาทต่อเครื่อง (ไม่รวมค่าแบตเตอรี่) เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมี ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ช่วยสร้างความสมดุลทางธรรมชาติ ไม่ทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติที่ทำหน้าที่ควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กลุ่มอารักขาพืช สนง.อุทัยธานี โทร.๐๕๖-๕๑๑-๑๑๖ หรือที่ สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง