kaset สารสกัดสะเดา นีมเพาเวอร์ เอ็กซ์ตร้า (1000 ซีซี)
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot

dot


หน่วยงานราชการ
หนังสือการเกษตร


สารสกัดสะเดา นีมเพาเวอร์ เอ็กซ์ตร้า (1000 ซีซี)icon  
รหัส : PB050
ราคาปกติ :  650.00 บาท      

รายละเอียดย่อ :
ชนิดแมลงศัตรูพืชที่ควบคุมได้
กลุ่มแมลงที่ได้ผลดี เช่น หนอนผีเสื้อ หนอนผักชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนอนกระทู้ผัก, หนอนหนังเหนียว, หนอนกระทู้, หนอนชอนใบ, หนอนกัดกินใบ ฯลฯ กลุ่มแมลงที่ได้ผลปานกลาง เช่น เพลี้ยอ่อน, แมลงหวี่ขาว, แมลงวันทอง, เพลี้ยจักจั่น, หนอนเจาะลำต้น ฯลฯ กลุ่มแมลงที่ได้ผลน้อย เช่น เพลี้ยไฟ, หมัดกระโดด, มวนเขียว, มวนแดง, ไรแดง ฯลฯ
พืชปลูกแนะนำ
ผักกินใบ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ฯลฯ
พืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงโม ฯลฯ
พืชตระกูลหอม เช่น หอมใหญ่ หอมแบ่ง ฯลฯ
พืชตระกูลมะเขือ เช่น มะเขือเทศ มะเขือยาว ฯลฯ
พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว ฯลฯ
ไม้ผล เช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะนาว มะกรูด ฯลฯ
ไม้ดอก เช่น กุหลาบ มะลิ เบญจมาศ เยอร์บีร่า ฯลฯ
อัตราการใช้และวิธีการฉีดพ่นที่เหมาะสม
ผสมสารสกัดสะเดา นีมเพาเวอร์ ในอัตรา 25 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรผสมสารจับใบเพื่อเพิ่มความสามารถในการเกาะยึดกับใบพืช
ฉีดพ่นให้มีปริมาณสารสกัดมากพอต่อการป้องกันและกำจัดแมลงโดยเฉพาะบริเวณยอดอ่อนของพืช
เมื่อเริ่มต้นใช้สารสกัดสะเดา นีมเพาเวอร์ ควรฉีดพ่นซ้ำทุก 3 วัน จำนวน 5 ครั้งติดต่อกัน จะเห็นผลชัดเจนขึ้น
หลังจากการฉีดพ่นครั้งที่ 5 ขยายระยะเวลาการฉีดพ่นเป็น ทุก 5 วัน จำนวน 3 ครั้ง ติดต่อกัน และหลังจากนั้นจึงขยายระยะเวลาเป็นทุก 7 วัน
ไม่ควรฉีดพ่นในขณะที่มีแสงแดดจัด
รายละเอียดทั้งหมด :

 

ประโยชน์ของสะเดา

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 ที่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ตั๊กแตนปาทังก้าระบาดกัดกินพืชปลูกเสียหายหลายพันไร่ในประเทศซูดานทวีปอาฟริกา ใบพืชเพียงชนิดเดียวที่ตั๊กแตนทิ้งไว้โดยไม่กัดกินหรือทำลายคือใบสะเดา จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้นักกีฏวิทยาชาวเยอรมันชื่อ ศาสตราจารย์ ดร.ชมุดเทอร์เรอร์ (Prof. Dr. H. Schmutterer) ผู้สังเกตถึงปรากฏการณ์นี้ได้ให้ความสนใจทำการศึกษาวิจัยค้นคว้าหาเหตุผลต่อมาว่า เหตุใดตั๊กแตนจึงไม่ทำลายหรือกัดกินใบสะเดา จากข้อมูลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 เป็นต้นมา พบรายงานว่ามีแมลงที่มีความอ่อนแอต่อการใช้สารสกัดสะเดาจำแนกออกเป็นอันดับและชนิดต่างๆ รวมทั้งสิ้น 413 ชนิด จนถึงปัจจุบันประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศ อเมริกา เยอรมัน ออสเตรเลีย แคนาดา ฯลฯ ได้ผลิตสารสกัดสะเดาเพื่อใช้ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชหลายชนิด ส่วนในแถบทวีปเอเซียโดยเฉพาะประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีสะเดาขึ้นกระจายอยู่ทั่วไปมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสะเดามากมายนับร้อยชนิด ท่ามกลางกระแสแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้การใช้สารสกัดจากสะเดามีคุณค่าในตัวของมันเองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อวงการเกษตรกรรมเนื่องจากสารสกัดสะเดามีผลเฉพาะเจาะจงต่อแมลงที่เป็นศัตรูพืชเท่านั้น นอกจากนี้สารสกัดจากสะเดาสามารถสลายตัวได้ง่ายในสภาพธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสภาพนิเวศน์ทางการเกษตร อีกทั้งการผลิตสารสกัดจากสะเดาเพื่อใช้เองในระดับชาวบ้านก็ยังสามารถทำได้โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบง่าย ๆ และใช้ต้นทุนต่ำ วัสดุที่เหลือจากการผลิตยังมีคุณค่าต่อดินหรือพืชปลูกโดยสามารถใช้เสริมหรือทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย การสะเดาที่ใส่เพื่อเป็นปุ๋ยบำรุงดินยังสามารถใช้ป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูในดินได้อีกหลายชนิดตลอดจนสารสกัดสะเดายังมีผลในการป้องกันกำจัดโรคพืช ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชอีกหลายชนิด

ประสิทธิภาพของสารสกัดสะเดา

การใช้สารสกัดสะเดาป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อาจกล่าวได้ว่าสารสกัดสะเดาแสดงลักษณะการออกฤทธิ์ (mode of action) และประสิทธิภาพ (efficiency) ต่อแมลงศัตรูพืชได้หลายรูปแบบในคราวเดียวกัน ลักษณะการออกฤทธิ์ต่อแมลงที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ
  • คุณสมบัติในการยับยั้งกระบวนการลอกคราบ
  • คุณสมบัติในการยับยั้งการพัฒนาการเจริญเติบโต
  • คุณสมบัติในการยับยั้งการกินอาหารของแมลง
  • ลดความสามารถในการวางไข่ และการฟักไข่ออกเป็นตัว
  • ลดความสามารถในการดำเนินกิจกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสามารถในการบิน เดิน คลานและกระโดด

สารออกฤทธิ์หลักของสะเดา

  • สารกลุ่มอะซาไดแรคติน (azadirachtin)
  •  
  • สารกลุ่มซาลานิน (Salannin)
  • สารกลุ่มนิมบิน (nimbin)
  • สารกลุ่มนิมบิดิน (nimbidin) สารอะซาไดแรคติน (azadirachtin) เป็นสารพวกไตรเทอร์พีนอยด์ (C36H44O16) เป็นสารออกฤทธิ์หลักของสะเดาที่มีผลต่อแมลง มีลักษณะโครงสร้างทางเคมีเหมือนเอ็คไดโซน(ecdysone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการลอกคราบของแมลง สารสกัดจากสะเดาจะมีผลออกฤทธิ์โดยตรงต่อระบบต่อมไร้ท่อหรือระบบฮอร์โมนของแมลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณเอ็คไดโซนและจูวีไนล์ฮอร์โมน (Juvenile hormone) ลักษณะการออกฤทธิ์นี้ส่งผลทำให้กระบวนการลอกคราบถูกขัดขวาง แมลงจะเจริญเติบโตมีรูปร่างผิดปกติและตายไปในที่สุด
  • ลักษณะการออกฤทธิ์อีกรูปแบบหนึ่งของสารสกัดสะเดา คือ ผลในการยับยั้งการกินอาหารของแมลง สาเหตุเกิดจากสารออกฤทธิ์ กลุ่มซาลานิน ( Salannin) สารกลุ่มนิมบิน (nimbin) สารกลุ่มนิมบิดิน (nimbidin) ทำให้อวัยวะรับกลิ่นและรสชาติจากอาหารของแมลงทำหน้าที่ผิดปกติไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราความเข้มข้นของสารสกัดสะเดาที่ใช้ ตลอดจนชนิดของแมลงและพืชอาหารของแมลงด้วย

จำนวน      ขวด


Copyright © 2010 All Rights Reserved.