kaset หัวเชื้อเห็ดเข็มเงิน (ข้าวฟ่างขวดกลม) * (สินค้าหมด)
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot
dot

ราคาสินค้า
หมวดสินค้า
ยี่ห้อสินค้า

  [Help]
dot
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
bullet สมัครสมาชิก
dot
dot

dot


หน่วยงานราชการ
หนังสือการเกษตร


หัวเชื้อเห็ดเข็มเงิน (ข้าวฟ่างขวดกลม)icon   * (สินค้าหมด)
รหัส : MR055
ราคาปกติ :  10.00 บาท      

รายละเอียดย่อ :
เห็ดเข็มทอง หรือ เห็ดเข็มเงิน อยู่ในตระกูลเดียวกัน ในธรรมชาติจะเจริญเติบโต ตามบริเณตอไม้ผุ ต่อมาได้มีการนำ เห็ดเข็มทอง มาเพาะเลี้ยง และพัฒนาการเพาะเลี้ยง มาเรื่อยๆ ถือเป็นเห็ด ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ อีกชนิดหนึ่ง ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของ เห็ดเข็มทอง และ เห็ดเข็มเงิน จะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่ในด้านคุณค่า ทางโภชนาการนั้น เหมือนกันทุกประการ
รายละเอียดทั้งหมด :

 

ข้อแตกต่างระหว่าง เห็ดเข็มทอง และ เห็ดเข็มเงิน

เห็ดเข็มทอง : จะมีสีของก้านดอก และหมวกดอก เป็นสีเหลืองทอง ส่วนบริเวณโคนก้านดอก จะเป็นสีนํ้าตาลดำ เป็นเห็ดที่นิยมเพาะเลี้ยง ในประเทศจีน เพื่อใช้สกัดเป็นเครื่องดื่ม บำรุงร่างกาย

เห็ดเข็มเงิน : จะมีสีของก้านดอก และหมวกดอก เป็นสีขาว เป็นเห็ดที่นิยมรับประทานกัน มานานหลายศตวรรษ โดยในประเทศญี่ปุ่นนั้น ได้พัฒนาการเพาะเลี้ยง เห็ดเข็มเงินจากขอนไม้ มาเพาะเลี้ยงลงในถุงอาหารขี้เลื่อย ในปัจจุบัน เห็ดเข็มเงิน ได้กลายเป็นเห็ดเศรษฐกิจ ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

ขั้นตอนและวิธีการ สำหรับ การเพาะเห็ดเข็มทอง

การเตรียมโรงเพาะ : โรงเรือนสำหรับ การเพาะเห็ดเข็มทอง ที่ดีจะต้องสร้างแบบห้องเย็น ภายใต้หลังคา สามารถควบคุมความชื้น อุณหภูมิ อากาศ และแสงสว่าง ได้เป็นอย่างดี มีพื้นที่เพียงพอ สำหรับกองขี้เลื่อย และสำหรับติดตั้ง อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตู้อบฆ่าเชื้อ เครื่องผลิตไอน้ำ เครื่องมือต่างๆ และในโรงเพาะ ควรมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง เผื่อไว้สำหรับกรณีไฟฟ้าดับด้วย

การเตรียมเชื้อสำหรับ การเพาะเห็ด : สายพันธุ์ของเชื้อเห็ด ที่เป็นที่นิยมในตลาด คือ สายพันธุ์ที่เพาะเลี้ยง เชื้อบริสุทธิ์ในอาหารวุ้น PDA หรือ PDYA ที่ระดับอุณหภูมิ 20 – 25 องศาเซลเซียส แล้วจึงขยายเชื้อเห็ด ลงในเมล็ดข้าวฟ่าง หรือขี้เลื่อย ผสมกับรำละเอียด 10 %

การเตรียมวัสดุสำหรับ การเพาะเห็ด : วัสดุเพาะที่ใช้กัน โดยทั่วไปคือ ขี้เลื่อยผสมกับรำละเอียด 10 – 20 % นอกจากนี้ อาจจะผสมกับแกลบ 5 – 10 % และอาหารเสริมอื่นๆ ตามความเหมาะสม ของเชื้อเห็ดเข็มทอง แต่ละสายพันธุ์ เมื่อนำวัสดุเพาะ มาผสมกันได้ที่แล้ว ให้รดน้ำกองขี้เลื่อย แล้วทิ้งไว้ ให้น้ำที่ไหลซึมออกมา เป็นสีใส ในระหว่างนี้ ให้กลับกองด้วย เพื่อความสม่ำเสมอ ในการชะล้างยางไม้ ให้ออกจากขี้เลื่อย จากนั้นให้รอจนกองสะเด็ดน้ำ ส่วนผสมของวัสดุเพาะ ควรมีความชื้นอยู่ ระหว่าง 58 – 62 %

การเตรียมอาหารวัสดุ : อาหารที่ใช้ผสม เป็นอาหารเสริมสำหรับ การเพาะเห็ดเข็มทอง ประกอบด้วย ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 75 กิโลกรัม รําละเอียด 20 กิโลกรัม ข้าวโพดบด 5 กิโลกรัม นํ้า 60 กิโลกรัม นำวัสดุทั้งหมดนี้ มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยให้มีความชื้น ระหว่าง 60 – 65 % จากนั้นให้นำอาหาร ที่เตรียมไว้ มาบรรจุลงในถุงพลาสติก ทนความร้อน ขนาด 7 x 12 นิ้ว อัดให้แน่นพอประมาณ จะได้ปริมาณอาหาร ถุงละ 600 กรัม (วิธีบรรจุ ทำเช่นเดียวกัน กับการเตรียมถุงอาหาร ของเห็ดทั่วไป) ใส่ด้วยคอขวดพลาสติก แล้วปิดจุกด้วยสำลี จากนั้นให้หุ้มด้วยกระดาษ เพื่อป้องกันสำลีเปียก

ภาชนะที่ใช้ใน การเพาะเห็ด : นิยมใช้ขวดพลาสติก ทนความร้อนสูง โดยมีลักษณะทั่วไป คือ ขนาดความจุ 1 ลิตร ปากกว้าง 6 เซนติเมตร ใส่วัสดุเพาะหมัก 750 กรัม บรรจุขี้เลื่อยลงไป ด้วยเครื่องบรรจุ พร้อมทั้งอัด และเจาะรูตรงกลาง โดยอัตโนมัติ จากนั้นปิดปากขวด ด้วยฝาพลาสติก แบบมีที่กรองอากาศ

การอบฆ่าเชื้อใน การเพาะเห็ด : นำขวดขี้เลื่อย ไปอบฆ่าเชื้อ ที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 4 ชั่วโมง จากนั้นจึงเพิ่มระดับ อุณหภูมิเป็น 120 องศาเซลเซียส หรือจะอบที่ระดับอุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง ก็ได้ ในระหว่างที่อบฆ่าเชื้อนั้น ต้องระวังอย่าให้น้ำ ไหลเข้าไปในขวดขี้เลื่อย เพราะจะทำให้ขวดขี้เลื้อย มีความชื้นสูงเกินไป และเชื้อเห็ดจะเจริญเติบโต ได้ไม่ดีเท่าที่ควร การอบฆ่าเชื้อนี้ เรียกอีกอย่างว่า การนึ่งอาหาร โดยนำถุงอาหารขี้เลื่อยผสม ที่ได้เตรียมไว้แล้วนี้ ไปผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ โดยนึ่งในหม้อนึ่ง แบบไม่อัดความดัน ที่อุณหภูมิ ประมาณ 100 องศสเซลเซียส เป็นระยะเวลา 3 ชั่วโมง หรือนึ่งด้วยหม้อนึ่ง แบบอัดความดัน ที่อุณหภูมิ ประมาณ 121 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 1 – 2 ชั่วโมง

การใส่เชื้อเห็ด : เมื่อทำการอบฆ่าเชื้อ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทิ้งขวดขี้เลื่อยให้เย็น โดยให้เหลือระดับอุณหภูมิ ประมาณ 20 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงจะใส่ เชื้อเห็ดเข็มทอง ลงไป ในการเพาะเห็ดแบบอุตสาหกรรม จะต้องใช้เครื่องมือเป็นส่วนใหญ่ การใส่เชื้อเห็ดก็เช่นกัน จะต้องใส่ด้วยเครื่อง โดยใช้เชื้อที่ทำจากขี้เลื่อย ใส่ลงไปในอัตราส่วน ประมาณ 15 กรัมต่อขวด หรือเชื้อ 1 ขวด ต่อวัสดุเพาะ 50 ขวด หรือใส่เชื้อเห็ด ที่เจริญเติบโตในเมล็ดข้าวฟ่าง ถุงละ 15 – 20 เมล็ด

การบ่มเชื้อ : ให้นำขวดเพาะที่ใส่ เชื้อเห็ดเข็มทอง ไปตั้งไว้ในห้อง ที่ระดับอุณหภูมิ ระหว่าง 18 – 20 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับอุณหภูมิ ที่เหมาะสำหรับ การเจริญเติบโต ของเส้นใยเห็ด โดยใช้ระยะเวลา ประมาณ 25 – 30 วัน เชื้อเห็ดเข็มทอง ก็จะเจริญเติบโตเต็มขวด

การสร้างตุ่มดอก : เมื่อเชื้อเห็ดเข็มทอง เจริญเติบโตเต็มขวดแล้ว ให้เปิดฝาออก แล้วใช้เหล็กปลายแบน งอเหมือนกับช้อน เขี่ยเอาส่วนหน้า หรือส่วนที่เป็นเชื้อขี้เลื่อยออก เพื่อให้หน้าเรียบ แล้วนำไปไว้ในห้อง โดยให้ลดระดับอุณหภูมิ ลงมาที่ 10 – 15 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์เห็ด และให้มีความชื้น ระหว่าง 80 – 85 % ไม่ต้องให้แสงสว่าง ในช่วงนี้ ให้รักษาระดับอุณหภูมิ และความชื้น ให้สม่ำเสมอ เป็นระยะเวลา 5 – 10 วัน ก็จะเกิดตุ่มดอก จากนั้นแล้ว ให้เพาะเลี้ยงต่อไป จนดอกเห็ด โผล่พ้นออกมาปากขวด ประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร

การเก็บดอกเห็ด : ก้านดอกเห็ดจะยาว ประมาณ 9 – 14 เซนติเมตร มีขนาดของหมวกดอก ประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร สามารถเก็บดอก ได้ โดยดึงกลุ่มดอกเห็ดออกมาทั้งหมด ดอกเห็ดเข็มทอง สามารถเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น ได้ไม่น้อยกว่า 7 วัน โดยจะยังคงความสด ของดอกเห็ด และสี โดยไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเลย

สรุประยะเวลา การเพาะเห็ดเข็มทอง

การเพาะเห็ดเข็มทอง หรือ เห็ดเข็มเงิน สามารถสรุประยะเวลา การเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ คือ แม่เชื้อในอาหารวุ้น (จานแก้ว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เซนติเมตร) 10 วัน เชื้อเต็มในเมล็ดข้าวฟ่าง (100 กรัม) 12 วัน เชื้อเต็มในขวดขี้เลื่อย (600 กรัม) 45 วัน พักขวด 15 วัน รวมระยะเวลาทั้งหมดเป็น 120 วัน โดยให้ผลผลิต 50 – 120 กรัมต่อขวด


จำนวน      


Copyright © 2010 All Rights Reserved.